วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เมนูเพื่อสุขภาพ

อาหารเพื่อสุขภาพ..สลัดผักสีทอง

ส่วนประกอบ

ผัก กาดแก้ว ผักกาดหอม ใบคะน้า ใบหยิก พริกหวานเขียว,แดง และเหลือง มะเขือม่วงลูกใหญ่ สับปะรดเห็ดหอมสด ซูกินี หอมใหญ่ hb10มะเขือเทศดอยคำเลือกห่ามๆ แตงกวาญี่ปุ่น เห็ดเป๋าฮื้อ ซอสมะเขือเทศมายองเนสรสเปรี้ยว แป้งทอดกรอบ แป้งสาลี น้ำมันสำหรับทอด

วิธีทำ

1. ผักกาดแก้ว ผักกาดหอม ใบคะน้า ใบหยิก ล้างนำเด็ดเป็นใบๆ ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ มะเขือม่วงหั่นเป็นแผ่นแช่นำผสมนำมะนาวเพื่อป้องกันการดำ พริกหวานเขียว,แดง และเหลืองหั่นเป็นแว่น ซูกินีหั่นเป็นแผ่นหอมใหญ่หั่นเป็นแว่นตามขวาง มะเขือเทศดอยคำหั่นเป็นแว่นตามขวาง เห็ดหอมเลือกดอกกลางๆ เห็ดเป๋าฮื้อฉีกเป็นแผ่น
2. นำผักต่างๆ คลุกแป้งสาลีแห้งก่อนแล้วนำไปจุ่มในแป้งทอดกรอบที่ผสมไว้ค่อนข้างข้น แล้วนำไปทอดให้เหลืองกรอบ ทอดผักทีละชิ้น วางให้สะเด็ดน้ำมัน จัดใส่จานเสริร์ฟกับแตงกวาญี่ปุ่น สับปะรดซอสมะเขือเทศ และน้ำมายองเนสทำ
ประโยชน์
เป็น อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ ต้านการเป็นโรคมะเร็งในปริมาณที่สูง และยังช่วยในการชำระร่างกายโดยการกำจัดสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย

อาหารเพื่อสุขภาพ..ฟองเต้าหู้ห่อผัก

ส่วนผสม

-ฟองเต้าหู้ 2 แผ่น
-ถั่วงอกเด็ดหาง 1 ถ้วยhb9
-เห็ดหูหนูซอย 1 ถ้วย
-แครอทหั่นฝอย 1 ถ้วย
-ถั่วแขกหั่นเฉียง 1/2 ถ้วย
-ซีอิ๊วขาว 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
-น้ำมันพืชสำหรับผัด 2 ช้อนโต๊ะ
-น้ำมันพืชสำหรับทอด 4 ถ้วย
-ต้นหอม ใบผักชี ผักสำหรับตกแต่ง

วิธีทำ

1. ตั้งกระทะใช้ไฟกลาง ใส่น้ำมันพอร้อน ใส่แครอท ใส่ถั่วแขก เห็ดหูหนู ผัดพอสุก ใส่ถั่วงอก ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว ผัดพอผักสุกทั่ว ตักใส่ถ้วยสำหรับเป็นไส้
2. ฟองเต้าหู้พรมน้ำพอนิ่ม ตัดเป็นแผ่นขนาด 5x5 นิ้ว จำนวน 4 แผ่น ใส่ไส้ที่ทำไว้ประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ ทาแป้งเปียกพับด้านซ้ายขวา ม้วนให้แน่น ทำจนหมด
3. ตั้งกระทะใช้ไฟกลางใส่น้ำมันพอร้อน ใส่ฟองเต้าหู้ที่ห่อไว้ ทอดจนสุกเหลือง ตักวางบนกระดาษซับมัน
4. หั่นเป็นชิ้นพอคำ จัดใส่จาน ตกแต่งด้วยต้นหอมและใบผักชี เสิร์ฟพร้อมซอสพริก
หมายเหตุ
ทำแป้งเปียกโดยผสมแป้งสาลี 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำ 3 ช้อนโต๊ะ ตั้งไฟคนจนสุกเหนียว
สรรพคุณ
- เต้าหู้ เป็นอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณและคุณ ภาพไม่แพ้โปรตีนจากเนื้อสัตว์ จนมีผู้ให้ สมญา นามว่า เนื้อไม่มีกระดูก หรือ โปรตีนแห่งท้องทุ่ง ซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย นอกจากนี้ยังมีไขมันที่มี ความจำเป็นกับร่างกายอีกด้วย และไม่มีคอเลส เตอรอล และมีวิตามิน เกลือแร่ต่างๆ เช่นแคล เซียม ฟอสฟอรัส และเลซิติน ที่ช่วยลด ระดับ คอเลสเตอรอลในเลือด และป้องกันเกล็ด เลือด แข็งตัว ทำให้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ
- เห็ดหูหนู คุณค่าทางสมุนไพร ช่วยลดความดันโลหิต มีสารต้านมะเร็ง มีวิตามินช่วยในการดูดซึม
- แครอท สีส้มสดใสสว่างของแครอทช่วยดับความกลัวโรคมะเร็งได้ ใน แครอทมีเบต้า-แคโรทีนที่กำจัดสารก่อนมะเร็งที่อาจมากับควันบุหรี่ หรือแสงแดดแผดจัด สารนี้ป้องกันมะเร็งได้โดยเฉพาะมะเร็ง ในปอด ใครกินผักสด และผลไม้มากสม่ำเสมอ มีสารนี้ใน เลือดมากและใครมีมากก็ไม่ต้องเสี่ยงกับมะเร็งในปอด ลบ ความกลัวด้วยการกินแครอท ผักสดและผลไม้อื่นๆ
- ผักชี แก้เจ็บคอ ริดสีดวงทวาร
- ถั่วแขก บำรุงร่างกาย ดับร้อน ขับปัสสาวะ รักษาอาการบวมน้ำได้

อาหารเพื่อสุขภาพ..เต้าหู้ทอดตะไคร้

เครื่องปรุงสำหรับเต้าหู้ทอด

-เต้าหู้ขาวชนิดอ่อน (2 แพ็ค) 600 กรัม
-เกลือ 1 ช้อนชาhb5
-พริกไทยเม็ดขาว 1 ช้อนชา
-แป้งข้าวโพด 1 ถ้วยตวง
-น้ำมันมะกอกสำหรับทอด

วิธีทำเต้าหู้ทอด

1. หั่นเต้าหู้เป็นชิ้นขาว ชิ้นละ 3 ซม. ล้างแล้ววางบนกระดาษซับน้ำให้แห้งสักพัก
2. ตั้งกระทะให้ร้อน ใช้ไฟปานกลาง ใส่เกลือและเม็ดพริกไทยขาววางลงไปคั่วประมาณ 5 นาทีหรือจนกลายเป็นสีน้ำตาล เพื่อให้มีกลิ่นหอมมากขึ้นตักขึ้นพักไว้ให้เย็นนำไปปั่นหรือตำให้ละเอียด
3. ใส่น้ำมันมะกอกในกระทะ กะปริมาณให้ท่วมชิ้นเต้าหู้รอให้ร้อนจัด
4. นำเต้าหู้ที่ได้มาแล้วคลุกกับแป้งข้าวโพด ให้แป้งจับเต้าหู้เพียงบาง แล้วนำลงทอดจนเต้าหู้สุกเป็นสีน้ำตาลตักขึ้นวางบนกระดาษซับน้ำมันให้แห้ง
5. นำเต้าหู้ทอดใส่ชามใหญ่โรยเกลือและพริกไทยที่บดไว้ให้ทั่วราดหน้าด้วยน้ำตะไคร้ใบสะระแหน่ก่อนเสิร์ฟ

เครื่องปรุงสำหรับน้ำราดตะไคร้ ใบสะระแหน่

-กระเทียมสับละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ
-น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
-ตะไคร้หั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ
-พริกชี้ฟ้าเม็ดใหญ่ซอยเป็นเส้น 1 เม็ด
-ใบสะระแหน่สับละเอียด 1/4 ถ้วย
-น้ำตาลปี๊ป 3 ช้อนชา
-น้ำมันมะกอก 2 1/2 ช้อนโต๊ะ
-เกลือป่น 1 ช้อนชา

วิธีทำน้ำราดตะไคร้ ใบสะระแหน่

1. ใส่กระเทียมสับ น้ำมะนาว ตะไคร้หั่น พริกชี้ฟ้าหั่น ใบสะระแหน่และน้ำตาลปี๊ปลงในชามแล้วคลุกให้เข้ากัน
2. เทน้ำมันมะกอกลงในกระทะตั้งไฟให้ร้อนจัดแล้วราดน้ำมันลงในชามส่วนผสมที่คลุกให้เข้ากันพักไว้สำหรับราดเต้าหู้
สรรพคุณ
อาหารชนิดนี้มีคุณค่าต่อร่างกายเนื่องจากมีส่วนผสมจากพืชสมุนไพร คือตะไคร้ ช่วยขับลม ใบสะระแหน่ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ


อาหารเพื่อสุขภาพ..พาสต้าปลาแซลมอน

ส่วนผสม

(1). ปลาแซลมอน
(2). น้ำผึ้ง
(3). พริกไทยดำชนิดเม็ด4 นำมาบด
(4). พาสต้าหรืออาหารเส้น อะไรก็ได้ตามใจชอบha9
(5). Basil (กระเพราป่า หรือใช้กระเพราธรรมดาแทนก็ได้)
(6). ใบสะระแหน่
(7). ซูกินี (แตงกวาญี่ปุ่น) ขูดเป็นเส้นฝอย
(8). แครอทขูดเป็นเส้นฝอย
(9). น้ำมะนาว
(10). ซอสถั่วเหลือง
(11). งาขาว
(12). ผักชีไทยเด็ดเป็นใบ

วิธีทำ

1. หั่นปลาเป็นชิ้นหนาพอประมาณ นวดด้วยน้ำผึ้งและพริกไทยดำ พอให้ซึมเข้าเนื้อปลา พักไว้
2. ลวกเส้นพาสต้า หรืออาหารเส้นอะไรก็ได้ตามชอบ จนสุก พักไว้
3. หั่น basil และใบสะระแหน่เป็นเส้นฝอย (ถ้าหั่นไว้นานจะดำ) ใส่ชาม ตามด้วยซูกินีแครอท และงาขาว
4. ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว ซอสถั่วเหลือง และน้ำผึ้ง ให้ได้รสชาติตามชอบ เอาเส้นพาสต้าลงคลุก เสร็จแล้วนำไปแช่เย็น
5. ทอดปลาที่หมักไว้ในกระทะที่ใส่น้ำมันเพียงเล็กน้อย หากเป็นกระทะเทฟลอนไม่ต้องใช้น้ำมันเลย
6. ทอดแต่ละด้านนานประมาณ 1 นาที (ตรงกลางยังไม่สุกดี จึงจะอร่อยเพราะปลาแซลมอนสามารถรับประทานดิบๆได้)
7. เสิร์ฟขณะที่ปลายังร้อน และส่วนของเส้นเย็น โรยหน้าด้วยผักชีไทย แถมท้าย
8. หากเกรงว่าซูกินีและแครอทจะเหม็นเขียว ให้ลวกผ่านน้ำเดือดจัดโดยเร็ว แล้วใส่ลงในน้ำเย็นจัดทันที
สรรพคุณ
ปลาแซลมอน เป็นปลาทะเลลึกที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง ช่วยลดภาวะหัวใจวาย ป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า
ลดอาการอักเสบของข้อ และลดอาการหอบหืด รวมไปถึงการลดอาการปวดประจำเดือน และโรคครรภ์เป็นพิษ
คุณค่าทางอาหารดีขนาดนี้ไม่รับประทานไม่ได้แล้ว ใช่ไหมคะ
แต่อย่าลืมว่าชีวจิตเราแนะนำให้รับประทานปลาและอาหารทะเล สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เท่านั้นนะคะ
และไม่ควรขาดโอเมก้า-3 จากธัญพืชด้วย เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน เพราะมีโอเมก้า-3
ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ร่างกายต้องการโอเมก้า-3 จากทั้งสองแหล่งในสัดส่วนที่สมดุลกัน

เมนูแนะนำภาคเหนือ

อาหารภาคเหนือ..คั่วตับหมู

เครื่องปรุง

-หมูสามชั้นหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 2 ถ้วยn15
-เครื่องในหมู ตามชอบ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 2 ถ้วย

เครื่องแกง

-พริกแห้ง 7 เม็ด
-หอมแดง 5 หัว
-กระเทียม 1 หัว
-ข่าซอย 1 ช้อนโต๊ะ
-ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ
-รากผักชีซอย 1 ช้อนชา
-กะปิ 1 ช้อนชา
-น้ำมันพืช 1 ช้อนชา

วิธีทำ

1 โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด
2 นำเครื่องแกงผัดกับน้ำมันให้หอม
3 ใส่หมูและเครื่องในลงผัด เติมน้ำให้ท่วม เคี่ยวไปจนหมูเปื่อย
4 ใส่ใบมะกรูด ปรุงรสตามชอบ

อาหารภาคเหนือ..ยำหมูฮุ่ม

เครื่องปรุง

1.หมูสันคอ หั่นสี่เหลี่ยม 1 กิโลกรัมn11
2.เกลือ 2 ช้อนชา
3.น้ำปลา 2 ช้อนชา
4.รากผักชี 10 ราก
5.กระเทียม 1 หัว
6.ตะไคร้ตัดเป็นท่อน ทุบ 3 หัว
7.น้ำซุป (น้ำต้มกระดูกหมู) 4 ถ้วย

วิธีทำ

1 หั่นหมูเป็นชิ้นขนาด 1x1 นิ้ว
2 โขลกรากผักชี เกลือ คลุกกับเนื้อหมูที่หั่นไว้ เติมน้ำปลา หมักทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง
3 นำหมูที่หมักไว้ ตะไคร้ทุบ และน้ำซุปใส่หม้อตั้งไฟ พอเดือด ลดไฟลงเป็นไฟอ่อน ปิดฝาหม้อต้นจนกระทั่งน้ำแห้ง
4 คนต่อจนเหลือง ตักใส่จาน

อาหารภาคเหนือ..น้ำพริกแดง

n6

เครื่องปรุง

1.พริกแห้ง ปิ้งให้หอม 7 เม็ด
2.หอมแดงเผา 5 หัว
3.กระเทียมเผา 3 หัว
4.กะปิ ห่อใบตองเผา 1 ช้อนชา
5.ปลาร้าสับ ห่อใบตองเผา 1 ช้อนโต๊ะ
6.ปลาย่างป่น 3 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1 โขลกพริกแห้งให้ละเอียด ใส่หอมเผา กะปิเผา ปลาร้าสับเผา โขลกต่อให้ละเอียด
2 ใส่ปลาย่างป่นโขลกละเอียดให้เข้ากัน
รับประทานกับผักนึ่ง เช่น ถั่วฝักยาว มะเขือยาว กะหล่ำปลี ผักกาด ผักกวางตุ้ง ฟักทอง หมูฮุ่ม ปลาบ้วง (ปลาช่อนแห้ง) นึ่ง

อาหารภาคเหนือ..เมี่ยงปลาทู

เครื่องเมี่ยง

1.ปลาทูทอด มากน้อยตามชอบn19
2.เส้นขนมจีน หรือ เส้น หมี่ เส้น ก๋วยเตี๋ยวลวก
3.ผักกาดหอม
4.ผักกาดขาว
5.ผักสลัด
6.ใบโหระพา

เครื่องตำน้ำจิ้ม

1.พริกขี้หนู
2.กระเทียมดอง ถ้าไม่มีกระเทียมธรรมดา ก็ได้ค่ะ
3.เกลือ
4.น้ำตาลทราย
5.มะนาว หรือ น้ำมะขาม
6.น้ำปลา
7.ขนมถั่วตัด ถั่วลิสงคั่ว
8 ไข่ต้ม เเกะเอาเเต่ไข่เเดงจ้า
มาตำน้ำจิ้มกันค่ะ
1ตำพริกขี้หนู รากผักชี กับกระเทียมเเลัว ไส่ถั่วตัดหรือถั่วลิสงลงไป
ตำละเอียดเเล้วตำไข่ไก่ต้มเเกะเอาเเต่ไข่เเดงค่ะ แล้วใส่น้ำอุ่นนิดหน่อย
ปรุงรสด้วย มะนาว น้ำตาล ผักชี ปรุงรสตามชอบค่ะ

เมนูแนะนำภาคกลาง

อาหารภาคกลาง..ยำเห็ดเป๋าฮื้อ

ส่วนผสม
1. เห็ดเป๋าฮื้อ 2 ขีดFood-Central-AA13
2. หอมใหญ่ซอยตามยาว 1 หัว
3. หมูสับ 1 ขีด
4. หอมแดงซอย 5 หัว
5. พริกชี้ฟ้าแดงหั่นตามยาว 1 เม็ด
6. ผักชีเด็ดเป็นช่อ 1 ต้น

ส่วนผสมน้ำปรุงรส
1. พริกขี้หนูสวน 10 เม็ด
2. น้ำปลา-น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. นำเห็ดเป๋าฮื้อมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วลวกให้สุก หั่นเป็นชิ้นพอคำ ตั้งพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
2. หมูสับนำมารวน ใส่น้ำปลา มะนาว,พริกขี้หนูซอย,หอมแดง,หอมใหญ่ คลุกเคล้าให้เข้ากันดี ผสมลงในเห็ดเป๋าฮื้อ
3. นำส่วนผสมน้ำปรุงรสราดลงบนเห็ดเป๋าฮื้อ
4. โรยหน้าด้วยผักชีและพริกชี้ฟ้าแดง ตกแต่งด้วยผักให้ดูสวยงาม

อาหารภาคกลาง..ไข่เยี่ยวม้าผัดกะเพรากรอบ

เครื่องปรุงFood-Central-AA25
1. ไข่เยี่ยวม้าผ่าซีก 3 ฟอง
2. กะเพราเด็ดใบ 1 ถ้วย
3. กระเทียมกลีบเล็ก 15 กลีบ
4. พริกขี้หนูสีเขียวและสีแดง 15 เม็ด
5. น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
6. เนื้อหมูสับ ¼ ถ้วย
7. น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
8. ซีอิ๊วดำ ½ ช้อนโต๊ะ
9. น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. โขลกกระเทียม และพริกขี้หนูเข้าด้วยกันพอแหลก ตักใส่ถ้วย พักไว้
2. ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันลงในกระทะ ใช้ไฟกลางจนร้อน ใส่ไข่เยี่ยวม้าลงทอดให้พอกรอบ จับเวลาประมาณ 1 นาที ตักขึ้นใส่จานไว้ จึงใส่ใบกะเพราลงทอดต่อพอกรอบ ตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำมัน
3. ตักน้ำมันที่ทอดออกให้เหลือประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ตั้งบนไฟกลาง ใส่เครื่องที่โขลก ผัดให้หอม ใส่หมูสับ ผัดยีพอสุกทั่ว ปรุงรสด้วยน้ำปลา ซีอิ๊วดำ น้ำตาล ผัดให้เข้ากัน ชิมรสให้พอดี ใส่ไข่เยี่ยวม้าทอด และกะเพราทอดครึ่งหนึ่ง ผัดเคล้าให้เข้ากัน ปิดไฟ ตักใส่จาน โรยกะเพราทอดที่เหลือ จัดใส่จานเสิร์ฟ

อาหารภาคกลาง..เป็ดตุ๋นมะนาวดอง

Food-Central-AA24
ส่วนผสม

1. เป็ดพะโล้ ½ ตัว สับเป็นชิ้นพอประมาณ
2. น้ำซุป 5 ถ้วย
3. มะนาวดอง 1 ลูก
4. ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
5. เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
6. เห็ดหอม 2 ดอก

วิธีทำ

1. ใส่น้ำซุปลงในหม้อ ตั้งไฟพอเดือด
2. ใส่เป็ดลงไปเคี่ยวด้วยไฟอ่อน คอยช้อนฟองทิ้ง
3. เติมเกลือ ซีอิ๊วขาว เห็ดหอม มะนาวดอง ระวังอย่าให้ลูกมะนาวแตก เพราะจะทำให้มีรสขม
4. ตักใส่ถ้วย รับประทานขณะร้อนๆ

อาหารภาคกลาง..ปลากะพงทอดน้ำปลา

Food-Central-AA14

ส่วนผสม

1. ปลากะพงตัวขนาดย่อม 1 ตัว
2. น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนชา
4. น้ำมันสำหรับทอด 1 ถ้วย
5. ผักชีสำหรับโรยหน้า 1 ต้น
6. พริกชี้ฟ้าแดง 2-3 เม็ด

วิธีทำ
1. นำปลากะพงล้างให้สะอาด แล้วนำไปชุบในน้ำปลา
2. ตั้งกระทะใส่น้ำมันให้ร้อนปานกลาง จากนั้นจึงนำปลาลงทอดให้มีสีเหลือกรอบ
3. ผสมน้ำปลากับน้ำตาลปี๊บคนให้เข้ากันแล้วราดลงบนตัวปลา
4. ตกแต่งด้วยพริกชี้ฟ้าแดง ผักชี จัดเสิร์ฟ

เมนูแนะนำภาคอีสาน

อาหารอีสาน..หมกหน่อไม้

เครื่องปรุง

-หน่อไม้ ½ กิโลกรัม (500 กรัม)is13
-ข้าวเหนียว 4-5 ช้อนโต๊ะ (60-70 กรัม)
-กระเทียม 3 หัว (90 กรัม)
-หอมแดง 4 หัว (20 กรัม)
-พริกแห้ง 15-20 เม็ด (15 กรัม)
-ตะไคร้ 2-3 ถ้วย (60 กรัม)
-ต้มหอม 4 ต้น (20 กรัม)
-ใบแมงลัก 2 กำมือ (50 กรัม)
-ใบย่านาง 1 กำมือ (15 กรัม)

วิธีทำ

1. ล้างใบย่านาง ให้สะอาด นำมาโขลกกรองเอาแต่น้ำ 1 ถ้วยตวง
2. แช่ข้าวเหนียวไว้ในน้ำสะอาด
3. ใช้ส้อมขูดหน่อไม้ให้เป็นเส้น ๆ นำไปต้มในน้ำสะอาดจนหล่อไม้สุก ช้อนหน่อไม้ขึ้นพักไว้
4. นำข้าวเหนียวที่แช่น้ำได้ที่แล้วมาโขลกรวมกับ พริกแห้ง พะไคร้ หอมแดง ผสมกับน้ำย่านางที่เตรียมไว้ กรองเอาแต่น้ำให้ได้สัก 1 ถ้วยตวง นำน้ำไปต้มพร้อมกับใส่หน่อไม้ลงไปพอเดือดยกลง
5. ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า 1-2 ช้อนโต๊ะ เหยาะน้ำปลาโรงเกลือป่น 1 ช้อนชา คลุกเคล้าให้เข้ากัน
6. นำหน่อไม้ที่คลุกด้วยเครื่องปรุงแล้วหอใส่ใบตองแล้วนึ่งด้วยไปแรงจัด

อาหารภาคอีสาน..แจ่วบอง

ส่วนผสม

- ปลาร้าปลากระดี่ ½ ถ้วยis8
- กระเทียมกลับใหญ่ปอกเปลือก 3-4 กลีบ
- หอมเล็กปอกเปลือก 6-7 หัว
- ข่าแก่หั้นเป็นแว่น 3 แว่น
- ตะไคร้ซอย 2 ต้น
- เนื้อมะขามเปียก 1- 1 ½ ช้อนโต๊ะ
- พริกป่น 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลาร้าต้มสุก ¼ ถ้วย
- พริกขี้หนูสวนซอย 1-2 ช้อนโต๊ะ
- ใบมะกรูดซอย 3-4 ใบ
- ผักสดต่าง ๆ ตามชอบ

วิธีทำ

1. ห่อปลาร้าด้วยในตอง นำไปปิ้งจนสุกหอมจากนั้นสับให้ละเอียด พักไว้
2. คั่วกระเทียม หอมเล็ก ข่า ตะไคร้จนสุกแล้วโขลกให้ส่วนผสมแหลก
3. ใส่เนื้อมะขามเปียก ตามด้วยปลาร้าสับที่เตรียมไว้ในข้อแรกและพริกป่น ผสมพอเข้ากันแล้วจึงใส่น้ำปลาร้า ใบมะกรูดและพริกขี้หนูลงไปคลุกเคล้า
ให้เข้ากันตักใส่ถ้วย เสิร์ฟพร้อมพักสดต่าง ๆ ตามชอบ
เคล็ดลับ
การห่อปลาร้าด้วยใบตองแล้วปิ้งจะช่วยให้แจ่วบองมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน
ยิ่งขึ้น

อาหารภาคอีสาน..อ่อมหอยจูบ หอยขม

ส่วนประกอบ

1. หอยจูบ (หอยขม)

is6

2. ใบผักอี่ตู่ (แมงลัก)
3. เกลือ
4. ข่า
5. ตะไคร้
6. ข้าวเบือ
7. พริก
8. กระเทียม
9. หอมแดง
10. ต้นผักกะแยง
11. น้ำปลา
12. น้ำปลาร้า
13. ใบผักอีเลิศ

กรรมวิธี

1. นำหอยจูบมาตัดก้นให้สะอาด
2. นำหม้อใส่น้ำ แล้วเอาหอยใส่
3. ตำพริก กระเทียม หอมแดง เกลือ รวมกันให้ละเอียด
4. ตักหอยใส่หม้อ ข่าสับ ตะไคร้หั่น เป็นท่อน ๆ ใส่หม้อ
5. ยกขึ้นตั้งไฟพอหอยสุกเอาข้าวเบือ ตำให้ละเอียดใส่ในหม้อ คนให้เข้ากัน จนข้าวเบือสุก ใส่ผักอีตู่ ใบอีเลิศ หรือ ผักกะแยง ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำปลาร้า น้ำปลา

อาหารภาคอีสาน..เนื้อน้ำตก
เครื่องปรุงs_5

1.เนื้อติดมัน 200 กรัม
2.ข้าวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
3.พริกป่น ? ช้อนชา
4.หอมแดงซอย 1 ช้อนโต๊ะ
5.ใบสะระแหน่ ? ถ้วย
6.น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
7.น้ำปลา 2 ช้อนชา
8.ซีอิ้วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
9.ผักสด ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี

วิธีทำ
1.ล้างเนื้อ แล่หนาประมาณ 1 เซนติเมตร เคล้ากับซีอิ้วขาว หมักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
2.ย่างเนื้อบนเตาถ่านใช้ไฟแรง เนื้อจะสุกด้านนอก พลิกไปมาทั้ง 2 ข้าง พอน้ำตกส่งกลิ่นหอม ยกลง
3.หั่นเนื้อแฉลบ เป็นชิ้นพอคำ เคล้ากับน้ำปลา น้ำมะนาว ใส่พริกป่น ข้าวคั่ว หอมแดง โรยใบสะระแหน่ รับประทานกับผักบุ้ง ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี

เมนูแนะนำภาคใต้

อาหารภาคใต้..แกงเนื้อแบบในงานภาคใต้ (แกงคั่วกลิ้ง)

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่า ในงานภาคใต้แถวบ้านผมเวลามีงานมีการ เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานศพ หรืองานบุญอื่นๆ เขาจะนิยมล้มวัวมาแกงเลี้ยงแขกที่มาในงาน ส่วนมากจะแกงเหมือนๆ กันเรียกว่าแกงเนื้อ พร้อมแล้วเรามาเริ่มทำกันเลยfood-tay-aa1
ส่วนผสมมีดังนี้
1. เนื้อวัว 1 กก.
2. เครื่องแกงเผ็ดใต้ 2 ขีด
3. กะทิ 2 กล่อง
4. กะปิ 1 กระปุก
5. ข่า 1 หัว
6. ใบมะกรูด 2-3 ใบ
7. เกลือ, ผงชูรส
วิธีทำ
1. นำข่ามาตำหรือทุบให้พอแหล
2. นำเครื่องแกง, กะปิ,กะทิ,เนื้อวัว และข่าที่ทุบไว้แล้วในข้อ 1 มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วหมักไว้ 15 นาทีBeef curry - roll
3. นำหม้อตั้งไฟปานกลาง ใส่ส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 2 คนไปเรื่อยๆ จนเนื้อเริ่มสุก
4. ใส่กะทิ คนไปเรื่อยๆ จนแตกมัน
5. ปรุงรสตามชอบ ใส่หัวกะทิและใบมะกรูดเพื่อแต่งหน้า
6. ตักใส่จานเสิร์ฟพร้อมข้าวสวยร้อนๆ


หมายเหตุ : สำหรับคนที่ไม่ชอบกินเนื้อสามารถเปลี่ยนเป็นหมูได้ ส่วนผสมและวิธีทำก็เหมือนกัน

 

อาหารภาคใต้..น้ำพริกระกำ

เครื่องปรุง
1.ระกำปอกเปลือกขูดเอาแต่เนื้อ 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)Southern food-NA3

2.กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)

3.กุ้งแห้ง 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)

4.กระเทียม 3 กลีบ (10 กรัม)

5.พริกขี้หนู 10 เม็ด (10 กรัม)

6.น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา (8 กรัม)

วิธีทำ
1. ใช้ใบตองห่อกะปิย่างไฟให้หอม
2. โขลกกะปิ กระเทียม กุ้งแห้ง พริกขี้หนู น้ำตาลทราย
3. ใส่ระกำ โขลกให้เข้ากัน
4. เสริ์ฟพร้อมผักเหนาะ เช่น ถั่วฝักยาว, สะตอ, กระถิน เป็นต้น



อาหารภาคใต้..ไก่ต้มขมิ้น

เครื่องปรุง
1.ไก่บ้าน 1 ตัว (100กรัม)Southern food-NA6

2.ตะไคร้ 2 ต้น (30 กรัม)

3.ขมิ้น 2 นิ้ว (10 กรัม)

4.กระเทียม 3 หัว (30 กรัม)

5.หอมแดง 5 หัว (45 กรัม)

6.ข่า 7 แว่น (50 กรัม)

7.เกลือป่น 2 ช้อนชา (5 กรัม)

8.ส้มแขก 5 ชิ้น (5 กรัม)

วิธีทำ
1. ล้างไก่ให้สะอาด แล้วสับชิ้นพอคำ
2. ทุบตะไคร้ให้แตก หั่นเป็นท่อน 2-3 นิ้ว ทุบข่า ขมิ้น แล้วบุบหอมแดง กระเทียม
3. เอาน้ำ 4 ถ้วยใส่หม้อตั้งไฟ พอเดือด ใส่เครื่องที่เตรียมไว้ (ข้อ 2) ต้มสักพักจนเครื่องหอม ใส่ส้มแขก
4. ใส่ไก่ต้มจนสุก ใส่เกลือ น้ำตาล ปรุงรสตามชอบ ยกลง


อาหารภาคใต้..อื้อพุงปลา

อื้อพุงปลา เป็นอาหารคาวที่ใช้รับประทานเป็นกับข้าว ซึ่งมีพุงปลา ( ไตปลา ) เป็นส่วนประกอบสำคัญ

เครื่องปรุงSouthern food-NA2
- ไตปลา
- หมูสับ
- หัวกะทิ
- พริกสด
- ตะไคร้
- ข่าอ่อน
- หอมแดง
- กระเทียม
- ใบมะกรูด
- เกลือ ใส่นิดหน่อยค่ะ ไตปลาเค็มอยู่แล้ว
- น้ำมะนาว หรือน้ำมะขามก็ได้ค่ะ แต่ครั้งนี้ใส่น้ำมะนาวค่ะ
- ผักสด

วิธีทำ
นำหอม กระเทียม ขมิ้น ที่ปอกเปลือกแล้ว ตำให้ละเอียด ทุบตะไคร้พอแตก ๒ ต้น ขมวดเป็นปม ต้มกับพุงปลาพอเดือดใส่ใบมะกรูด นำไปกรองเอาเฉพาะน้ำ ตั้งบนไฟพอเดือดใส่หัวกะทิ พริกไทย ตะไคร้หั่น พริกขี้หนู ปล่อยให้เดือดใส่ปลาย่างซึ่งฉีกเป็นชิ้น ๆ มะนาว ชิมดูรสชาติกลมกล่อม เค็มนำเปรี้ยวเล็กน้อย หวานและมันด้วยหัวกะทิ ยกลงจากไฟ
วิธีปรุง อื้อพุงปลาที่สุกแล้วโรยด้วยหอมซอย ใบมะกรูดหั่นฝอย


ดูเพิ่มเติมที่http://www.petsang.com/Table/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89/

วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ภาคใต้

 

                 ประชาชนในจังหวัดภาคใต้เป็นที่รู้จักกันดีว่าใจคอหนักแน่น พูดเร็ว เดินเร็ว และทำเร็ว อาหาร ปักษ์ใต้จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนลักษณะของพวกเขาได้อย่างชัดเจนในเรื่องของรสชาติอาหารที่เผ็ดจัด เค็มจัด ตลอดจนเปรี้ยวจัด อาหารปักษ์ใต้ที่ขึ้นชื่อลือชามากๆ คือ แกงไตปลา แกงเหลือง น้ำพริก กุ้งเสียบ น้ำบูดู น้ำยาปักษ์ใต้ ตลอดจนอาหารปักษ์ใต้ที่ได้รับอิทธิพลมาจากพวกมาลายู และอินเดีย จำพวกอาหารอิสลามและกับข้าวสำรับที่เรียกว่า หมรับ นอกจากนั้นอาหารปักษ์ใต้ในทุกมื้อยังประ กอบไปด้วยผักสดที่สำคัญโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วจำพวก สะตอ หรือลูกเนียงที่จะเป็นต้องติดไว้ใน แทบทุกมื้อ
              อาหารปักษ์ใต้แม้จะเป้นอาหารที่อร่อย น่าลิ้มลอง แต่สิ่งหนึ่งที่ประทับใจผู้คน คือความเผ็ดร้อนของรสชาติอาหารผู้คนในภาคใต้ นิยมรสอาหารที่เผ็ดจัด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่นิยมรสหวาน รสเผ็ดของอาหารปักษ์ใต้มาจากพริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้งและพริกไทย ส่วนรสเค็มได้จากกะปิ เกลือ รสเปรี้ยว ได้จากส้มแขก น้ำส้มลูกโหนด ตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียก และมะขามสด เป็นต้น
                อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้  มักเกี่ยวข้องกับปลา  และสิ่งอื่น ๆ จากท้องทะเล  อาหารทะเลหรือปลา โดยธรรมชาติจะมีกลิ่นคาวจัด อาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เลย  เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีนัก  ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลืองๆ แทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด  ก็มีขมิ้นกันทั้งสิ้น และมองในอีกด้านหนึ่ง  คงเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้นั่นเอง เพราะชีวิตของคนภาคใต้  เกี่ยวข้องกับทะเล  เมื่อออกทะเลหาอาหารมาได้มากเกิดรับประทานให้หมดในหนึ่งมื้อได้  คนภาคใต้จึงนำอาหารที่ได้จากทะเลมาทำการถนอมอาหาร

ภาคอีสาน



ภาคอีสานอาจจะร่ำรวยเรื่องอารยะธรรม วัฒนธรรมซึ่งสั่งสมกันมานานนับหลายพันปี อาหารอีสาน เป็นอาหาอีกประเภทหนึ่งซึ่งกล่าวได้ว่ามีชื่อเสียงและรสชาติที่ล้ำลึก และอาจกล่าวได้ว่าเป็นอาหาร ที่ฮิตติดปากคนไทยมากที่สุด และสามารถรับประทานได้ทุกเวลาทุกสถานที่ไม่ว่าจะเป็นส้มตำ ไก่ย่าง ข้าวเหนียว ลาบ ซกเล็ก ต้มแซบ เสือร้องไห้ เนื้อแดดเดียว ตลอดจนอาหารสำรับประเภทที่เรียก กันว่า ข้างพาแลง อันมีปลานึ่ง ผักต้ม และน้ำพริกแจ่วเป็นอาหารหลักสำคัญที่ทำให้อาหารทั้งภูมิภาค นี้มีชื่อเสียงติดใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อาหารภาคอีสาน  (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)   มีรสชาติเด่น คือ รสเค็มจากน้ำปลาร้า รสเผ็ดจากพริกสด พริกแห้ง รสเปรี้ยวจาก ผักพื้นบ้าน เช่น มะขาม  มะกอก อาหารส่วนใหญ่มีลักษณะแห้ง ข้น มีน้ำขลุกขลิก แต่ไม่ชอบ  ใส่กะทิ   คนอีสานใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงอาหารแทบทุกชนิด  เช่น ซุปหน่อไม้  อ่อม  หมก  น้ำพริกต่างๆ  รวมทั้งส้มตำ
             อาหารอีสานที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ปลาร้าบ้อง อุดมด้วยพืชสมุนไพร เช่น  ข่า ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม ใบมะกรูด มะขามเปียก หรืออย่างแกงอ่อม ที่เน้นการใช้ผัก หลายชนิดตามฤดูกาลเป็นหลัก รสชาติของแกงอ่อมจึงออกรสหวาน ของผักต่างๆ รสเผ็ดของพริก กลิ่นหอมของเครื่องเทศและผักชีลาวหรืออย่างต้มแซบ ที่มีน้ำแกงอันอุดมด้วยรสชาติและกลิ่นหอมของเครื่องเทศและผักสมุนไพรเช่นกัน
               อีสาน.... เป็นดินแดนที่แห้งแล้งกันดารที่สุดของประเทศไทย  บทเพลงของดินแดนอีสานจึงมักบรรยายถึงความทุกข์ยากแสนเข็ญ  นาแล้ง ข้าวกล้าเก็บเกี่ยวได้ไม่พอกิน หลาย ๆ ครอบครัวจึงต้องทิ้งเมีย  ทิ้งลูก มุ่งหน้ามาเป็นกรรมกรขายแรงงานในเมือง
              แม้ว่าอีสานจะอดอยากเพียงไร  ชาวบ้านก็ต้องดิ้นรนหาอาหาร เพื่อดำรงชีวิตกันต่อไป  อาหารพื้นเมืองของชาวบ้านแถบอีสานจึงมีอาหารพวกแมลงหลายชนิด  ไม่ว่าจะเป็น จิ้งหรีด มดแดง  ตั๊กแตน  จักจั่น  ดักแด้  แมงกุดจี่  แมงกินูน  ฯลฯ  แม้ว่าหลาย ๆ คนได้ยินแล้ว เกิดความรู้สึกแตกต่างกับไป  แต่แมลงเหล่านี้คือแหล่งโปรตีนที่หล่อเลี้ยงชีวิตเด็กๆ ชาวอีสานให้เติบโตขึ้นมาได้ อาหารอีสานนอกจากจะมีแมลงแล้ว  ยังใช้เนื้อสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่นเป็นส่วนประกอบของอาหาร  เช่น  ปลา  ซึ่งจะรับประทานตั้งแต่เป็นลูกปลาเรียกว่า  ปลาลูกครอก ( ลูกปลาช่อน )  จนปลาตัวโต  กบ ก็เช่นเดียวกันรับประทานตั้งแต่ลูกกบ ซึ่งเรียกว่า  ฮวก  คือ ลูกอ๊อดที่กำลังจะกลายเป็นกบ เริ่มมีขา แต่ก็ยังมีหาง ทางอีสานเรียกว่า ฮวก  กุ้งฝอย  อึ่งอ่าง  ปูนา  หอยโข่ง  หอยขม  สัตว์อื่น ๆ เท่าที่หาได้  เช่น  กระต่าย  หนูนา  แย้  กิ้งก่า  งู  จนกระทั่งนกต่าง ๆ ไก่ เป็ด หมู เนื้อ บ้าง
              คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก  และโดยทั่วไปจะนึ่งข้าวเหนียวด้วยหวด    คนอีสานจะต้องแช่ข้าวเหนียวดิบกับน้ำพอท่วมไว้ตอนกลางคืน  พอรุ่งเช้าจะนำหม้อทรงกระบอกใส่น้ำตั้งไฟ  กะให้น้ำอยู่ต่ำกว่ากัน หวด  พอน้ำเดือด  จะสงข้าวเหนียวไว้  ไอน้ำที่พุ่งขึ้นมาจะทำให้ข้าวเหนียวสุก  และมีกลิ่นหอมของไม้ไผ่ติดมาด้วย  พอข้าวเหนียวสุก  ใช้ไม้พายกลับข้าวเหนียวข้างล่างขึ้นมาด้านบน  แล้วปิดฝาไว้  ข้าวเหนียวก็จะสุกทั่วกัน